วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 11

แบบฝึกหัดบทที่ 11

1.  การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงินมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงินเป็นการช่วยเพิ่ม ความสามารถในการตัดสินใจของผู้จัดการทางการเงิน ท าให้ผู้จัดการทางการเงินสามารถคาดคะเนและวางแผน ทางการเงินของธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล และจัดเตรียมหาเงินทุนเพื่อมาใช้ในการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

2. จงอธิบายความหมายของการประมาณการงบกำไรขาดทุน (Projected Income statement) และการประมาณการงบดุล (Projected Balance Sheet)
ตอบ  การประมาณการงบกำไรขาดทุน : เป็นการจัดทำการวางแผนของกิจการเพื่อให้ทราบว่าอนาคตจะมีรายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร และต้องเป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต
การประมาณการงบดุล : เป็นการจัดทำการวางแผนของกิจการเพื่อให้ทราบ ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคตว่าจะมีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่าไร เท่าไร และต้องเป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต

3. เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคตตลอด




ตอบ เนื่องจากธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานทำให้เกิด ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่คาดการณ์ คือ การใช้เงินทุนสูงเกินไปตลอดการเกิดฉ้อฉลซึ่งจะนำความหายนะมาสู่ทางการเงินได้

4. จากงบการเงินประจำปี 2553 ด้านล่าง จงทำ

  1. พยากรณ์ยอดขายในปั 2554
  2. จัดทำงบกำไรขาดทุนล่วงหน้า
  3. จัดทำงบดุลล่วงหน้า (พร้อมหาค่า AFN)

ถ้าสมมติให้
     - ยอดขายปี2554 จะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน
     - ดอกเบี้ยจ่ายและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิมีจำนวนเท่าเดิมทุกปี
     - การจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญปี2554 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7 %
     - ในปี2553บริษัทมีการใช้สินทรัพย์ถาวรเต็มกำลังการผลิต
     - สินทรัพย์ทุกรายการของบริษัทจะมีการเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น
     - ในกรณีที่บริษัทจัดหาทุนจากแหล่งภายในไม่เพียงพอ บริษัทจะจัดหาเงินจากแหล่งภายนอก 
        โดย 1.ตั๋วเงินจ่าย 25% 2.ออกพันธบัตรจำหน่าย 50 %     3.ออกหุ้นสามัญจำหน่าย 25 %



บริษัท ทรัพย์ศิริ จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ..2553

สินทรัพย์                                                          หนี้สินและส่วนของเจ้าขอ
เงินสด                                     3,000                      เจ้าหนี้การค้า                                        5,000 
ลูกหนี้การค้า                          15,000                     ตั๋วเงินจ่าย                                           10,000
สินค้าคงเหลือ                        30,000                     ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                12,000
สินทรัพย์ถาวรร(สุทธิ)            50,000                     หนี้สินระยะยาว                                    25,000
รวมสินทรัพย์                       98,000                      หุ้นบุริมสิทธิ                                        11,000
                                                                               หุ้นสามัญ                                            15,000
                                                                               กำไรสะสม                                          20,000
                                                                              รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น       98,000


บริษัท ทรัพย์ศิริ จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ..2553

ยอดขาย                                                                                                                100,000
หัก ต้นทุนขาย                                                                                                         30,000
      ค่าเสื่อมราคา                                                                                                     15,000            
กำไรขั้นต้น                                                                                                              55,000
หัก  ดอกเบี้ยจ่าย                                                                                                     10,000
กำไรก่อนภาษี                                                                                                         45,000
หัก  ภาษีเงืนได้ 40%                                                                                               18,000
กำไรสุทธิ                                                                                                                 27,000
หัก  เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ                                                                                      13,800
กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ                                                                                   13,200
หัก  เงินปันผลหุ้นสามัญ                                                                                          10,400
กำไรสะสมโอนไป                                                                                                      2,800

เฉลย





















5. จากงบการเงินประจำปี 2547 ด้านล่าง จงทำ
  1. พยากรณ์ยอดขายในปั 2548
  2. จัดทำงบกำไรขาดทุนล่วงหน้า
  3. จัดทำงบดุลล่วงหน้า (พร้อมหาค่า AFN)

ถ้าสมมติให้
     - ยอดขายปี2548 จะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน
     - ดอกเบี้ยจ่ายและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิมีจำนวนเท่าเดิมทุกปี
     - การจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญปี2548 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15 %
     - ในปี2547บริษัทมีการใช้สินทรัพย์ถาวรเต็มกำลังการผลิต
     - สินทรัพย์ทุกรายการของบริษัทจะมีการเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น
     - ในกรณีที่บริษัทจัดหาทุนจากแหล่งภายในไม่เพียงพอ บริษัทจะจัดหาเงินจากแหล่งภายนอก
        โดย 1.ตั๋วเงินจ่าย 25% 2.ออกพันธบัตรจำหน่าย 75 %   


บริษัท ฮานิบะ จำกัด
งบดุล
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ..2547

                    สินทรัพย์                                                                  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
เงินสด                                    5,000                         เจ้าหนี้การค้า                                           7,500
ลูกหนี้การค้า                        25,000                         ตั๋วเงินจ่าย                                              10,000
สินค้าคงเหลือ                      40,000                         ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                  15,000
สินทรัพย์ถาวรร(สุทธิ)          80,000                         หนี้สินระยะยาว                                       25,000
รวมสินทรัพย์                   150,000                         หุ้นบุริมสิทธิ                                            12,500
                                                                                หุ้นสามัญ                                                20,000
                                                                                กำไรสะสม                                               60,000
                                                                                รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น         150,000

  
บริษัท ฮานิบะ จำกัด
งบกำไรขาดทุน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ..2547 

ยอดขาย                                                                                                                80,000
หัก ต้นทุนขาย                                                                                                       20,000
      ค่าเสื่อมราคา                                                                                                     7,500                 
กำไรขั้นต้น                                                                                                            52,500
หัก  ดอกเบี้ยจ่าย                                                                                                     5,000
กำไรก่อนภาษี                                                                                                       47,500
หัก  ภาษีเงืนได้ 40%                                                                                             19,000
กำไรสุทธิ                                                                                                               28,500
หัก  เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ                                                                                    15,800
กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ                                                                                 12,700
หัก  เงินปันผลหุ้นสามัญ                                                                                          7,700
กำไรสะสมโอนไป                                                                                                   5,000

เฉลย












บทที่ 11 การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน

การวางแผน และการพยากรณ์ทางการเงิน

ความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
  • Long-Term การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการมองไปในอนาคต 2-10 ปี เพื่อกำหนดทิศทางของกิจการ โดยต้องพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกควบคู่กัน
  • Intermediate-Term การวางแผนการตลาดและการผลิต เป็นการวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การวิจัยพัฒนา และวางแผนโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม
  • Short-Term  การวางแผนระยะสั้น ประกอบด้วยการจัดทำงบการเงินรายปีตามแผนงานระยะยาว เพื่อแสดงถึงกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำให้บรรลุเป้าหมาย

กระบวนการวางแผนทางการเงิน มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Plans)
  1. จุดมุ่งหมายของบริษัท
  2. ขอบเขตและการดำเนินงานของบริษัท
  3. เป้าหมายของบริษัท
  4. กลยุทธ์ของบริษัท
ขั้นที่ 2 การจัดทำแผนปฎิบัติงาน (Operating Plans)
  • ใคร หรือ หน่วยงานใด รับผิดชอบงานใด
  • เริ่มงานเมื่อไหร่
  • เสร็จสิ้นงานเมื่อไหร่
  • งานที่ทำมีผลทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
  • งานที่ทำมีผลทำให้กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
ขั้นที่ 3 การจัดทำแผนทางการเงิน (Financial Plans)
  1. ทำงบการเงินล่วงหน้าและใช้งบนั้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแผนการดำเนินงานต่อกำไรที่คาดไว้
  2. กำหนดเงินทุนที่จะใช้ ซึ่งจะรวมเงินทุนที่ต้องใช้ทั้งหมดในธุรกิจ 
  3. พยากรณ์เงินทุนที่จะหามาได้ในอนาคต ซึ่งรวมถึงเงินทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทเองและเงินทุนจากแหล่งภายนอก 
  4. ระบบการควบคุมในการดูแลการจัดสรรเงินทุนภายในบริษัท 
  5. สร้างแผนปฏิบัติงานสำหรับการปรับแผนงานเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่พยากรณ์ไว้ 
  6. สร้างบรรทัดฐานสำหรับการกำหนดผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร เมื่อผู้บริหารทำความมั่งคั่งให้แก่บริษัท
ความหมายและข้อแตกต่างของ Financial Statement กับ Projected Financial Statement
  • งบการเงิน (Financial Statement) พิจารณาจาก งบกําไรขาดทุน และงบดุล 
  • งบประมาณการการเงิน (Projected Financial Statement) ประมาณการงบกําไรขาดทุน และประมาณการงบดุล
งบกําไรขาดทุน (Income Statement) 
  1. ทำจากการบันทึกทางบัญชี 
  2. ทราบว่างวดที่ผ่านมามีรายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบกําไรขาดทุน (Projected Income Statement) 
  1. ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ 
  2. ทราบว่าอนาคตมีรายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
งบดุล (Balance Sheet) 
  1. ทำจากการบันทึกทางบัญชี 
  2. ทราบว่า (ณ วันใดวันหนึ่งในอดีต) มีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบดุล (Projected Balance Sheet) 
  1. ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ 
  2. ทราบว่า (ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคต) คาดว่าจะมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
งบการเงินล่วงหน้า (Pro Forma Financial Statement) 
งบการเงินล่วงหน้าจะเป็นเครื่องมือในการวางแผน และพยากรณ์ทางการเงิน โดยการจัดทำงบการเงินล่วงหน้าจะมีวัตถุประสงค์ คือ 
  • เพื่อประเมินว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท และเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดไว้หรือไม่ 
  • เพื่อทำให้ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ 
  • เพื่อคาดการณ์ความต้องการเงินทุนในอนาคต 
  • เพื่อใช้ประเมินกระแสเงินสดที่จะสามารถใช้ได้ในอนาคต
การพยากรณ์ยอดขาย คือ การพยากรณ์จำนวนหน่วยและจำนวนเงินของยอดขาย สำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต โดยพิจารณาจาก 
  • ยอดขายในอดีต 
  • ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น 
  • การพยากรณ์อุตสาหกรรม 
  • ปัจจัยอื่นๆ
การพยากรณ์งบการเงิน:วิธีอัตราร้อยละของยอดขาย 
การวางแผนทางการเงินนั้นหลังจากที่ทำการพยากรณ์ยอดขายแล้ว บริษัทต้องทำการพยากรณ์งบดุลและงบกำไรขาดทุนในอนาคตด้วย โดยเทคนิคที่ใช้กันทั่วไป คือ วิธีอัตราร้อยละของยอดขาย ( Percent of Sale Method) (วิธีที่ง่ายที่สุด) คือ พยากรณ์การเงินในอนาคตเป็นร้อยละของยอดขาย (อัตราร้อยละนี้จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้) มีขั้นตอนดังนี้ 
  1. พยากรณ์งบกำไรขาดทุน (ต้องพยากรณ์ยอดขายก่อน) 
  2. พยากรณ์งบดุล 
  3. สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก
ขั้นที่ 1 การพยากรณ์งบกำไรขาดทุน 
ทำให้ทราบว่ากิจการมีกำไรสุทธิที่เหลือจากการจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนภายในเท่าไร

ขั้นที่ 2 การพยากรณ์งบดุล 
  • ทำให้ทราบว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นต้องลงทุนในสินทรัพย์แต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าไร 
  • จัดหาเงินทุนจากแหล่งภายในเพียงพอหรือไม่ 
  • ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกเท่าไร 
การวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์
  • สินทรัพย์หมุนเวียน จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย spontaneous investment เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น เครื่องจักร โรงงานจะต้องลงทุนเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตนั้น
การวางแผนการจัดหาเงินทุน 
แหล่งเงินทุนที่มาจากการดำเนินงานของกิจการ 
  • แหล่งเงินทุนระยะสั้นจากหนี้สินหมุนเวียน : เพิ่มขึ้นอัตโนมัติตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย Spontaneous Financing เช่น เจ้าหนี้การค้า, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 
  • แหล่งเงินทุนจากกำไรสะสมส่วนเพิ่ม : กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหักด้วยเงินปันผลจ่าย
การพยากรณ์งบดุล มีลำดับขั้นดังนี้
  1. คำนวณอัตราส่วนสินทรัพย์แต่ละรายการต่อยอดขายในปีที่ผ่านมา
  2. คำนวณหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติต่อยอดขายในปีที่ผ่านมา
  3. นำผลการคำนวณตามข้อ 1 และข้อ 2 มาพยากรณ์งบดุล (สินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่ละรายการ)
  4. นำกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจากงบกำไรขาดทุนที่พยากรณ์มาบวก หรือหักกำไรสะสมจากปีที่ผ่านมา
  5. ผลต่างของการพยากรณ์สินทรัพย์ กับหนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของ คือ เงินทุนที่ต้องการ (ไม่ต้องการ) เพิ่มขึ้นจากแหล่งภายนอก
ขั้นที่ 3 สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก 
AFN (Additional Funds Needed) : แหล่งเงินทุนจากภายนอก จัดหาจากแหล่งต่างๆตามความจำเป็นและเหมาะสม ดังนี้ 
  • เงินกู้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินจ่าย 
  • เงินกู้ระยะยาว เช่น เงินกู้ธนาคาร การออกหุ้นกู้ 
  • การระดมทุน เช่น การออกหุ้นสามัญ
สมการควมสัมพันธ์ของ AFN


                              A∗     สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขาย(บาท)
                              L∗     หนี้สินระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นตามยอดขาย(บาท)
                              S        0 = ยอดขายในปีที่ผ่านมา (บาท), 1 = ยอดขายที่พยากรณ์ (บาท)
                              M      อัตราเปอร์เซ็นต์ของกาไรสุทธิ(Net Profit Margin)
                              RR     อัตราการกันกาไรสุทธิไว้เพื่อลงทุนต่อ(Retention Ratio)

ปัจจัย 5 ปัจจัยที่มีผลต่อ AFN(Key Drivers)


ข้อพิจารณาเพิ่มเติมในการวางแผนความต้องการเงินทุน
  1. เมื่อสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรายการในงบการเงินเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในปีก่อน
  • สัดส่วนระหว่างสินค้าคงเหลือ / ยอดขายลดลง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบาย สต๊อคสินค้า -> ใช้เงินลงทุนในสินค้าคงเหลือน้อยลง -> AFN น้อยลง
  • สัดส่วนระหว่างต้นทุนขาย / ยอดขายลดลง จาก Economic of Scales การประหยัดจากขนาดของการสั่งซื้อขนาดใหญ่ -> ต้นทุนขายลดลง -> กาไรสะสมส่วนเพิ่มมากขึ้น -> AFN น้อยลง
     2.  การคาดคะเนความสามารถ ณ ระดับ เต็มกาลังการผลิต ขณะที่ปัจจุบันมีกาลังการผลิตเหลือ


     3.  การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นหน่วยเต็ม (Lumpy Asset) ไม่สามารถลงทุนเพียงบางส่วนได้























บทที่ 13 การจัดการเงินสดและทรัพย์ที่ตลาดต้องการ

การจัดการเงินสดและทรัพย์ที่ตลาดต้องการ

อะไรคือทรัพย์สินสภาพคล่อง?
          เงินสด(cash)  คือ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่บริษัทถือไว้ในมือในรูปของบัญชีเงินฝาก บัญชีกระแสรายวัน ส่วนหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ(marketable securities) หรือเรียกว่า ทรัพย์สินที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด คือเป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไว้และสามารถเปลี่ยนให้เป็นเงินสดได้เร็ว

เหตุจูงใจในการถือเงินสดของบริษัท มี 3 ประการ ได้แก่


     1. เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติ
               การถือเงินสดไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติของบริษัท  จะช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามปกติจากการดำเนินงานของบริษัท

     2. เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน
               การถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินเป็นการสำรองเงินสดหรือทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงไว้ใช้จ่ายเมื่อมีเหตุจำเป็นของบริษัท  โดยในทางปฏิบัติการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินนั้น  บริษัทมักจะถือไว้ในรูปของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวสูง

     3. เพื่อการเก็งกำไร
               การถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรเป็นลักษณะของการนำเงินสดส่วนเกินของบริษัทไปลงทุนหาผลประโยชน์ตอบแทน  อย่างไรก็ตามการถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรจัดเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการถือเงินสดเพื่อใช้จ่ายตามปกติและการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน


การตัดสินใจและวัตถุประสงค์ของการจัดการเงินสด
          การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ  จะต้องพิจารณาถึงผลได้และผลเสียที่เกิดขึ้น  ซึ่งการถือเงินสดของบริษัทไว้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดผลเสีย คือ
  • การจัดการเงินสดของบริษัทจะเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทให้น้อยลง ดังนั้นบริษัทควรที่จะต้องมีเงินสดให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตรงตามกำหนดระยะเวลาด้วย
  • การถือเงินสดของบริษัทไว้มากหรือน้อยเกินไป ถ้าถือไว้มากจะทำให้กำไรน้อยลง และถ้าถือไว้น้อย ก็จะประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องได้
วัตถุประสงค์ของการถือเงินสด มี 2 ประเภท คือ
  1. การถือเงินสดอย่างเพียงพอจะต้องสอดคล้องกับความต้องการใช้เงินสดในการใช้จ่ายของบริษัท
  2. การถือเงินสดจะต้องถือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การกำหนดเงินสดขั้นต่ำ

  • วงจรเงินสดของธุรกิจ = อายุสินค้า + ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ -ระยะเวลาชำระหนี้
  • อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี/ วงจรเงินสดของธุรกิจ
  • เงินสดขั้นต่ำ = เงินสดที่ต้องใช้ต่อปี/ อัตราการหมุนเวียนของเงินสด


ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ

  • อายุสินค้าหรือระยะเวลาที่ผลิตสินค้าจนเป็นสินค้าสำเร็จรูป
  • อายุลูกหนี้หรือระยะเวลาเรียกเก็บหนี้หรือระยะเวลาที่ให้เครดิต
  • อายุเจ้าหนี้หรือระยะเวลาจ่ายชำระหนี้หรือระยะเวลาที่ได้เครดิต


ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ

  • อายุสินค้า= 360 / อัตราการหมุนเวียนของสินค้า
  • อายุลูกหนี้หรือระยะเวลาเรียกเก็บหนี้หรือระยะเวลาที่ให้เครดิต = 360 / อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
  • อายุเจ้าหนี้หรือระยะเวลาจ่ายชำระหนี้หรือระยะเวลาที่ได้เครดิต = 360 / อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้


ตัวอย่างการหาเงินสดขั้นต่ำ

          บริษัท ชวนชม จำกัด เป็นบริษัทขายสินค้าซึ่งอายุสินค้าโดยเฉลี่ย 75 วัน มีระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ 45 วันและระยะเวลาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 60 วัน ถ้าบริษัทคาดคะเนว่าจะต้องใช้เงินสดสาหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานประมาณปีละ 1,200,000 บาท (1 ปี = 360 วัน ) ให้หาว่าเงินสดขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในการดำเนินงานเท่ากับเท่าไร


วิธีคำนวณเงินสดขั้นต่ำ

  • วงจรเงินสด = อายุสินค้า + ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ - ระยะเวลาชำระหนี้

                              = 75 + 45 - 60
                              = 60 วัน

  • อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี / วงจรเงินสด

                                                           = 360 / 60

                                                           = 6 ครั้ง


  • เงินสดขั้นต่ำ = เงินสดที่ต้องใช้ต่อปี / อัตราการหมุนเวียนของเงินสด

          เงินสดขั้นต่ำ = 1,200,000/ 6
                               = 200,000 บาท


     ดังนั้น เงินสดขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ใช้ในการดำเนินงานเท่ากับ 200,000 บาท


ตัวอย่างการหาเงินสดขั้นต่ำ
          บริษัท ทำการขายสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งอัตราการหมุนเวียนของสินค้าเท่ากับ 6 ครั้ง อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้เท่ากับ 5 ครั้ง อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้เท่ากับ 6 ครั้ง บริษัทคาดว่าจะต้องใช้เงินสดสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปีละ 1,500,000 บาท (1 ปี = 360 วัน) คำนวณหาเงินสดขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ใช้ในการดำเนินงาน


วิธีคำนวณเงินสดขั้นต่ำ

  • อายุสินค้า = 360 / อัตราการหมุนเวียนของสินค้า

                           = 360 / 6 = 60 วัน

  • อายุลูกหนี้ = 360 / อัตราการหมุนเวียนลูกหนี้

                            = 360 / 5 = 72 วัน

  • อายุเจ้าหนี้ = 360 / อัตราการหมุนเวียนเจ้าหนี้


                            = 360 / 6 = 60 วัน

  • วงจรเงินสด = 60 + 72 - 60 = 72 วัน
  • อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี / วงจรเงินสด

                                                           = 360 / 72          = 5 รอบ


  • เงินสดขั้นต่า                             = 1,500,000 / 5  = 300,000 บาท


การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเงินสด
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การถือเงินสดเพื่อการดำเนินงานของบริษัทเข้าใกล้ศูนย์ ได้ คือ
  1. จะต้องมีการพยากรณ์กระแสเงินสดสุทธิที่มีความสมบูรณ์ตลอดระยะเวลาของการวางแผนของบริษัท
  2. เงินสดรับและจ่ายของบริษัทจะต้องมีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม
ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเงินสดที่สำคัญ ได้แก่
  • บริษัทจะต้องมีวิธีการเร่งการรับเงินสดให้เร็วที่สุดและชะลอการจ่ายเงินสดให้ช้าที่สุด
  • เมื่อบริษัทมีเงินสดส่วนเกินเหลือ ควรนำเงินสดนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
วิธีการเร่งเงินสดรับและการชะลอเงินสดจ่าย
  1. การเร่งเงินสดรับ
  2. การพัฒนาวิธีการที่จะใช้ในการชะลอการจ่ายเงินสด
การจัดการกระแสเงินสดรับ
            การเร่งเงินสดรับของบริษัทนั้นจะมีความสามารถในการลดการลอยตัว  ซึ่งการลอยตัว หมายถึง ระยะเวลาของเช็คที่ได้สั่งจ่ายจนกระทั่งได้รับเงินสดจากเช็ค  โดยการลอยตัวจะมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
  • การลอยตัวของการส่งเช็คทางไปรษณีย์  คือ ระยะเวลาที่ลูกค้าส่งเช็คไปให้กับผู้ขาย และผู้ขายดำเนินการนำเช็คไปเข้าบัญชี
  • การลอยตัวของขั้นตอนการดำเนินการนำเช็คขึ้นเงิน คือ ระยะเวลาที่บริษัทนำเช็คของลูกค้าไปดำเนินการขึ้นเงินที่ธนาคาร
  • การลอยตัวของการเปลี่ยนเช็คเป็นเงินสด คือ ระยะเวลาที่จำเป็นของการนำเช็คที่ได้รับจากลูกค้าไปเข้าบัญชี จนกระทั่งเช็คที่สั่งจ่ายนั้นได้ clearing ในระบบธนาคาร และบริษัทได้รับเงินสดจากเช็คนั้น
  • การลอยตัวของการจ่ายเงิน คือ ระยะเวลาระหว่างเงินที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกค้า จนกระทั่งเช็คสั่งจ่ายนั้นได้ clearing ในระบบธนาคารเรียบร้อยแล้ว
การคำนวณผลประโยชน์จากการลอยตัว

          บริษัท Miko จำกัด แสดงรายได้รวมเท่ากับ 350 ล้านบาท ถ้าบริษัทสามารถลดการลอยตัวได้ 1 วัน โดยอัตราผลตอบแทนของการนำเงินไปลงทุนเท่ากับ 8% มูลค่าของการลดการลอยตัวจะเป็นเท่าใด (กำหนด 365 วัน)
  • รายได้รวม / จำนวนวันใน 1ปี = 350,000,000 / 365

                                                        = 958,904.11
  • ถ้าลดการลอยตัว 1 วัน จะเท่ากับ 958,904.11 บาท
  • อัตราผลตอบแทน 8%  =  958,904.11*8%

                                               =  76,712.33 บาท

เทคนิคสำหรับการลดการลอยตัว
     1. การเช่าตู้ไปรษณีย์ (The lock Box Arrangement)
                ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์เป็นวิธีที่บริษัทผู้ขายสินค้าเช่าตู้ไปรษณีย์และมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้ที่มาเปิดตู้และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย  โดยการเช่าตู้ไปรษณีย์นี้จะทำให้บริษัทสามารถลดการลอยตัวของขั้นตอนในการนำเช็คไปขึ้นเงินได้ประมาณ 2 4 วัน

                 ซึ่งในกรณีที่บริษัทมีสถานที่ในการจัดเก็บเงินหลายแห่ง  การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะของเครือข่ายตู้ไปรษณีย์  คือจะมีตู้ไปรษณีย์กระจายอยู่หลายแห่ง


ขั้นตอนของระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์
ข้อดี-ข้อเสียของการเช่าตู้ไปรษณีย์
ข้อดี :
  • ทำให้ระยะเวลาการเปลี่ยนหนี้เป็นเงินสดลดลง  ซึ่งทำให้บริษัทได้รับเงินสดเร็วขึ้น
  • ทำให้สามารถลดภาระงานของพนักงานบริษัทลงได้  เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด  ตั้งแต่รับเช็คจนนำเช็คไปขึ้นเงิน
  • ทำให้ทราบถึงเช็คที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย :
  • การเช่าตู้ไปรษณีย์ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
     2. การจ่ายเงินด้วยเช็คที่อนุมัติล่วงหน้า (PAC)
               การจ่ายเงินด้วยเช็คล่วงหน้านั้นจะมีประสิทธิภาพในการแปลงสภาพของเช็คให้เป็นเงินสดได้รวดเร็วกว่าเช็คทั่วไป  เนื่องจากการจ่ายเงินด้วยเช็คที่อนุมัติล่วงหน้านี้จะกระทำการโดยได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ให้บริษัทสามารถถอนเงินผ่านบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าได้ทันที  โดยการจ่ายเงินวิธีนี้มีข้อได้เปรียบ คือ
  • สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทได้ดีขึ้น
  • สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการรับชำระเงินจากลูกหนี้ลงได้
  • สามารถทำให้เงินสดที่ใช้ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นได้  เนื่องจากสามารถลดการลอยตัวลงได้
     3. ระบบธนาคารศูนย์กลาง (Concentration Banking)
  • บริษัทที่มีสำนักงานขายอยู่หลายแห่งทั่วประเทศมักมีสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินในภูมิภาคนั้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงชำระค่าสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น
  • โดยเมื่อศูนย์ได้รับเช็คจากลูกค้าแล้ว  ทางศูนย์ก็จะนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารในท้องถิ่น  ซึ่งเงินนั้นก็จะถูกโอนเข้าบัญชีผู้ขายที่ธนาคารศูนย์กลางอย่างรวดเร็ว
  • ดังนั้นระบบธนาคารศูนย์กลางจึงสามารถลดระยะเวลาการจัดเก็บเงินได้ ซึ่งถือเป็นการลดการลอยตัวได้ดีวิธีหนึ่ง  
ขั้นตอนของระบบธนาคารศูนย์กลาง

     4. การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร (Wire Transfers)
                 วิธีนี้จะทำให้บริษัทได้รับเงินรวดเร็วขึ้นอีกวิธีหนึ่ง  เนื่องจากเงินที่โอนมาบริษัทสามารถนำไปใช้ได้ทันที  ซึ่งวิธีดังกล่าวจะสามารถลดการลอยตัวจากขั้นตอนของการเปลี่ยนเช็คเป็นเงินสดได้
ขั้นตอนการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร


การจัดการกระแสเงินสดจ่าย
          เทคนิคที่สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเงินสดจ่าย มีดังนี้

     1) การเปิดบัญชียอดเงินฝากเป็นศูนย์
           บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสำนักงานหลายแห่งมักมีบัญชีเงินฝากอยู่หลายธนาคาร  ดังนั้นระบบบัญชียอดเงินฝากเป็นศูนย์จะมีวิธีการ คือ 
  • เมื่อเช็คถูกเรียกเก็บเงินในแต่ละวันธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีหลักไปยังบัญชีของสำนักงานต่างๆในจำนวนเท่ากับเช็คเรียกเก็บของธนาคารแต่ละแห่ง
  • ดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีแห่งต่างๆจะเท่ากับศูนย์เสมอ ยกเว้นบัญชีหลักของบริษัท
  • ซึ่งการที่บัญชีมียอดเงินฝากเป็นศูนย์จะช่วยให้สามารถควบคุมการจ่ายเงินของบริษัทได้  นอกจากนั้นยังช่วยลดจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีด้วย  
     2) การจ่ายเงินด้วยตั๋วแลกเงิน
  • ตั๋วแลกเงินนั้นบริษัทจะเป็นผู้ทำหน้าที่ออกเอง  โดยตั๋วแลกเงินจะยังไม่มีการจ่ายเงินในทันที  แต่จะรอจนกว่าธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บ 
  • โดยตั๋วแลกเงินนั้นจะมีลักษณะเหมือนเช็คตรงการเคลียร์ริงผ่านระบบธนาคาร 
  • วัตถุประสงค์ของการจ่ายเงินด้วยตั๋วแลกเงิน คือเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การชะลอจ่ายเงินด้วยวิธีอื่นๆ 
  1. การจ่ายชำระหนี้ด้วยเช็คที่ต้องนำเข้าบัญชีเงินฝาก  กล่าวคือ บริษัทควรพยายามหลีกเลี่ยงการจ่ายชำระหนี้ด้วยเงินสดและเช็คเงินสด  เพื่อช่วยในการชะลอการจ่ายเงินสดออกไป 
  2. การกำหนดให้มีการวางใบเรียกเก็บเงินล่วงหน้า 
  3. การกำหนดวันและเวลาการจ่ายเช็คของบริษัท 
การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT)


          เนื่องจากในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก  ดังนั้นในส่วนของการจัดการเงินสด  บริษัทอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์  ในรูปแบบของการโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) รูปแบบของ EFT คือการโอนเงินจะเกิดขึ้นกับธนาคารทั้งรับและส่งเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และการโอนผ่านทางบัญชีทางธนาคาร

การลงทุนชั่วคราวในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
          เมื่อบริษัทได้กำหนดระบบที่ใช้ในการจัดเก็บเงินและชะลอการจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว  ถ้าบริษัทยังมีเงินสดส่วนเกินเหลืออยู่  บริษัทควรจะต้องพิจารณานำเงินสดส่วนนี้ไปหาผลประโยชน์ตอบแทน  โดยทางเลือกหนึ่งคือ การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการเป็นการชั่วคราว

หลักเกณฑ์การเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
          ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ต้องการ ได้แก่

1) ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk)
          บริษัทควรพิจารณาว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาหรือไม่  โดยถ้าพิจารณาแล้วว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มีความเสี่ยงที่จะไม่ทำตามเงื่อนไขการชำระเงินสูง  ความเสี่ยงทางการเงินก็จะสูงด้วย

2) ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่ได้รับเนื่องจากการปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจ
  • อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของหลักทรัพย์จะลดลง
  • ถ้าถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลง มูลค่าของหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น
3) สภาพคล่อง (Liquidity) คือ ความคล่องตัวของหลักทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว  ซึ่งการลงทุนในหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาว่าหลักทรัพย์นั้นสามารถนำไปขายได้ง่ายหรือไม่ถ้าบริษัทต้องการเงินสด

4) ผลตอบแทน (Yields) คือ ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์  ซึ่งถ้าความเสี่ยงในการลงทุนสูง ผลตอบแทนก็จะสูงตาม / แต่ถ้าความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำ ผลตอบแทนก็จะต่ำตาม

ประเภทของหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
  • ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)
          คือตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกโดยรัฐบาล  โดยปกติจะมีกำหนดไถ่ถอน 91 365 วัน  โดยตั๋วเงินคลังจะขายต่ำกว่าราคาที่ราไว้  เพราะนักลงทุนจะไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของผลต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขาย  และเนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกตั๋วเงินคลัง  ทำให้ตั๋วเงินคลังเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงและมีสภาพคล่องสูง  จึงทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าหลักทรัพย์ประเภทอื่น
  • ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง (Bankers Acceptances)
          คือ ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรองแทนบริษัทผู้ออกว่าจะจ่ายเงินให้กับผู้ถือเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนด้วยจำนวนเงินที่ระบุไว้หน้าตั๋ว  ซึ่งตั๋วเงินที่ธนาคารรับรองนี้ถือเป็นตราสารหนี้ที่เปลี่ยนมือได้และมีระระเวลาไถ่ถอน 30 180 วัน  โดยส่วนใหญ่ตั๋วเงินประเภทนี้มักมีการซื้อขายในตลาด OTC และมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตั๋วเงินคลัง
  • บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificates of Deposit หรือ NCD)
          เป็นตราสารที่ออกให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ผู้ถือจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืน  โดยปัจจุบันสถาบันการเงินที่ออกบัตรเงินฝากได้ในประเทศไทย คือ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน  ซึ่งบัตรเงินฝากต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าฉบับละ 5,000 บาท และอายุไม่ต่ำกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี
  • ตราสารพาณิชย์ (Commercial paper)
คือ ตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักค้ำประกันซึ่งออกจำหน่ายโดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ดี  โดยปกติตราสารพาณิชย์จะมีอายุไม่เกิน 270 วันและจำหน่ายต่ำกว่ามูลค่าที่กำหนด  ซึ่งตราสารพาณิชย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
  1. ตราสารพาณิชย์ที่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท
  2. ตราสารพาณิชย์ที่ไม่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
  3. หุ้นกู้ระยะสั้น คือ ตราสารหนี้ที่อายุไม่เกิน 270 วัน
  • สัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreements)

          เป็นสัญญาเกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์  ซึ่งสัญญาว่าผู้ขอกู้จะซื้อหลักทรัพย์กลับคืนในราคาที่กำหนดบวกกับดอกเบี้ยที่ระบุไว้  โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  1. ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
  2. สัญญาซื้อคืนต้องได้มาตรฐานตามหน่วยงานที่กลต.ยอมรับ
  3. บริษัทหลักทรัพย์จะนำหุ้นที่ได้จากการทำ equity repo ไปขายไม่ได้
  • กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Mutual Funds)
          จะเป็นหน่วยลงทุนที่ออกโดยผู้จัดการกลุ่มหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ  โดยหน่วยลงทุนสามารถซื้อขายได้ง่าย ในราคาขั้นต่ำเท่ากับ 500 บาท  ซึ่งกองทุนรวมนี้จะมีความคล่องตัวสูงเหมือนกับบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวัน