วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 11 การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน

การวางแผน และการพยากรณ์ทางการเงิน

ความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
  • Long-Term การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการมองไปในอนาคต 2-10 ปี เพื่อกำหนดทิศทางของกิจการ โดยต้องพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกควบคู่กัน
  • Intermediate-Term การวางแผนการตลาดและการผลิต เป็นการวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การวิจัยพัฒนา และวางแผนโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม
  • Short-Term  การวางแผนระยะสั้น ประกอบด้วยการจัดทำงบการเงินรายปีตามแผนงานระยะยาว เพื่อแสดงถึงกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำให้บรรลุเป้าหมาย

กระบวนการวางแผนทางการเงิน มี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Plans)
  1. จุดมุ่งหมายของบริษัท
  2. ขอบเขตและการดำเนินงานของบริษัท
  3. เป้าหมายของบริษัท
  4. กลยุทธ์ของบริษัท
ขั้นที่ 2 การจัดทำแผนปฎิบัติงาน (Operating Plans)
  • ใคร หรือ หน่วยงานใด รับผิดชอบงานใด
  • เริ่มงานเมื่อไหร่
  • เสร็จสิ้นงานเมื่อไหร่
  • งานที่ทำมีผลทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
  • งานที่ทำมีผลทำให้กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
ขั้นที่ 3 การจัดทำแผนทางการเงิน (Financial Plans)
  1. ทำงบการเงินล่วงหน้าและใช้งบนั้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแผนการดำเนินงานต่อกำไรที่คาดไว้
  2. กำหนดเงินทุนที่จะใช้ ซึ่งจะรวมเงินทุนที่ต้องใช้ทั้งหมดในธุรกิจ 
  3. พยากรณ์เงินทุนที่จะหามาได้ในอนาคต ซึ่งรวมถึงเงินทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทเองและเงินทุนจากแหล่งภายนอก 
  4. ระบบการควบคุมในการดูแลการจัดสรรเงินทุนภายในบริษัท 
  5. สร้างแผนปฏิบัติงานสำหรับการปรับแผนงานเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่พยากรณ์ไว้ 
  6. สร้างบรรทัดฐานสำหรับการกำหนดผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร เมื่อผู้บริหารทำความมั่งคั่งให้แก่บริษัท
ความหมายและข้อแตกต่างของ Financial Statement กับ Projected Financial Statement
  • งบการเงิน (Financial Statement) พิจารณาจาก งบกําไรขาดทุน และงบดุล 
  • งบประมาณการการเงิน (Projected Financial Statement) ประมาณการงบกําไรขาดทุน และประมาณการงบดุล
งบกําไรขาดทุน (Income Statement) 
  1. ทำจากการบันทึกทางบัญชี 
  2. ทราบว่างวดที่ผ่านมามีรายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบกําไรขาดทุน (Projected Income Statement) 
  1. ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ 
  2. ทราบว่าอนาคตมีรายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
งบดุล (Balance Sheet) 
  1. ทำจากการบันทึกทางบัญชี 
  2. ทราบว่า (ณ วันใดวันหนึ่งในอดีต) มีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบดุล (Projected Balance Sheet) 
  1. ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ 
  2. ทราบว่า (ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคต) คาดว่าจะมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร 
  3. เป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
งบการเงินล่วงหน้า (Pro Forma Financial Statement) 
งบการเงินล่วงหน้าจะเป็นเครื่องมือในการวางแผน และพยากรณ์ทางการเงิน โดยการจัดทำงบการเงินล่วงหน้าจะมีวัตถุประสงค์ คือ 
  • เพื่อประเมินว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท และเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดไว้หรือไม่ 
  • เพื่อทำให้ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ 
  • เพื่อคาดการณ์ความต้องการเงินทุนในอนาคต 
  • เพื่อใช้ประเมินกระแสเงินสดที่จะสามารถใช้ได้ในอนาคต
การพยากรณ์ยอดขาย คือ การพยากรณ์จำนวนหน่วยและจำนวนเงินของยอดขาย สำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต โดยพิจารณาจาก 
  • ยอดขายในอดีต 
  • ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น 
  • การพยากรณ์อุตสาหกรรม 
  • ปัจจัยอื่นๆ
การพยากรณ์งบการเงิน:วิธีอัตราร้อยละของยอดขาย 
การวางแผนทางการเงินนั้นหลังจากที่ทำการพยากรณ์ยอดขายแล้ว บริษัทต้องทำการพยากรณ์งบดุลและงบกำไรขาดทุนในอนาคตด้วย โดยเทคนิคที่ใช้กันทั่วไป คือ วิธีอัตราร้อยละของยอดขาย ( Percent of Sale Method) (วิธีที่ง่ายที่สุด) คือ พยากรณ์การเงินในอนาคตเป็นร้อยละของยอดขาย (อัตราร้อยละนี้จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้) มีขั้นตอนดังนี้ 
  1. พยากรณ์งบกำไรขาดทุน (ต้องพยากรณ์ยอดขายก่อน) 
  2. พยากรณ์งบดุล 
  3. สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก
ขั้นที่ 1 การพยากรณ์งบกำไรขาดทุน 
ทำให้ทราบว่ากิจการมีกำไรสุทธิที่เหลือจากการจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนภายในเท่าไร

ขั้นที่ 2 การพยากรณ์งบดุล 
  • ทำให้ทราบว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นต้องลงทุนในสินทรัพย์แต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าไร 
  • จัดหาเงินทุนจากแหล่งภายในเพียงพอหรือไม่ 
  • ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกเท่าไร 
การวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์
  • สินทรัพย์หมุนเวียน จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย spontaneous investment เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น เครื่องจักร โรงงานจะต้องลงทุนเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตนั้น
การวางแผนการจัดหาเงินทุน 
แหล่งเงินทุนที่มาจากการดำเนินงานของกิจการ 
  • แหล่งเงินทุนระยะสั้นจากหนี้สินหมุนเวียน : เพิ่มขึ้นอัตโนมัติตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย Spontaneous Financing เช่น เจ้าหนี้การค้า, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 
  • แหล่งเงินทุนจากกำไรสะสมส่วนเพิ่ม : กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหักด้วยเงินปันผลจ่าย
การพยากรณ์งบดุล มีลำดับขั้นดังนี้
  1. คำนวณอัตราส่วนสินทรัพย์แต่ละรายการต่อยอดขายในปีที่ผ่านมา
  2. คำนวณหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติต่อยอดขายในปีที่ผ่านมา
  3. นำผลการคำนวณตามข้อ 1 และข้อ 2 มาพยากรณ์งบดุล (สินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่ละรายการ)
  4. นำกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจากงบกำไรขาดทุนที่พยากรณ์มาบวก หรือหักกำไรสะสมจากปีที่ผ่านมา
  5. ผลต่างของการพยากรณ์สินทรัพย์ กับหนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของ คือ เงินทุนที่ต้องการ (ไม่ต้องการ) เพิ่มขึ้นจากแหล่งภายนอก
ขั้นที่ 3 สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก 
AFN (Additional Funds Needed) : แหล่งเงินทุนจากภายนอก จัดหาจากแหล่งต่างๆตามความจำเป็นและเหมาะสม ดังนี้ 
  • เงินกู้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินจ่าย 
  • เงินกู้ระยะยาว เช่น เงินกู้ธนาคาร การออกหุ้นกู้ 
  • การระดมทุน เช่น การออกหุ้นสามัญ
สมการควมสัมพันธ์ของ AFN


                              A∗     สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขาย(บาท)
                              L∗     หนี้สินระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นตามยอดขาย(บาท)
                              S        0 = ยอดขายในปีที่ผ่านมา (บาท), 1 = ยอดขายที่พยากรณ์ (บาท)
                              M      อัตราเปอร์เซ็นต์ของกาไรสุทธิ(Net Profit Margin)
                              RR     อัตราการกันกาไรสุทธิไว้เพื่อลงทุนต่อ(Retention Ratio)

ปัจจัย 5 ปัจจัยที่มีผลต่อ AFN(Key Drivers)


ข้อพิจารณาเพิ่มเติมในการวางแผนความต้องการเงินทุน
  1. เมื่อสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรายการในงบการเงินเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในปีก่อน
  • สัดส่วนระหว่างสินค้าคงเหลือ / ยอดขายลดลง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบาย สต๊อคสินค้า -> ใช้เงินลงทุนในสินค้าคงเหลือน้อยลง -> AFN น้อยลง
  • สัดส่วนระหว่างต้นทุนขาย / ยอดขายลดลง จาก Economic of Scales การประหยัดจากขนาดของการสั่งซื้อขนาดใหญ่ -> ต้นทุนขายลดลง -> กาไรสะสมส่วนเพิ่มมากขึ้น -> AFN น้อยลง
     2.  การคาดคะเนความสามารถ ณ ระดับ เต็มกาลังการผลิต ขณะที่ปัจจุบันมีกาลังการผลิตเหลือ


     3.  การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นหน่วยเต็ม (Lumpy Asset) ไม่สามารถลงทุนเพียงบางส่วนได้























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น