การจัดการเงินสดและทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
อะไรคือทรัพย์สินสภาพคล่อง?
เงินสด(cash) คือ
ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่บริษัทถือไว้ในมือในรูปของบัญชีเงินฝาก บัญชีกระแสรายวัน
ส่วนหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ(marketable securities) หรือเรียกว่า
ทรัพย์สินที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด
คือเป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไว้และสามารถเปลี่ยนให้เป็นเงินสดได้เร็ว
เหตุจูงใจในการถือเงินสดของบริษัท มี 3
ประการ ได้แก่
1. เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติ
การถือเงินสดไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติของบริษัท จะช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามปกติจากการดำเนินงานของบริษัท
1. เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติ
การถือเงินสดไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานตามปกติของบริษัท จะช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามปกติจากการดำเนินงานของบริษัท
2. เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน
การถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินเป็นการสำรองเงินสดหรือทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงไว้ใช้จ่ายเมื่อมีเหตุจำเป็นของบริษัท โดยในทางปฏิบัติการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินนั้น บริษัทมักจะถือไว้ในรูปของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวสูง
การถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินเป็นการสำรองเงินสดหรือทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงไว้ใช้จ่ายเมื่อมีเหตุจำเป็นของบริษัท โดยในทางปฏิบัติการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินนั้น บริษัทมักจะถือไว้ในรูปของกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวสูง
3. เพื่อการเก็งกำไร
การถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรเป็นลักษณะของการนำเงินสดส่วนเกินของบริษัทไปลงทุนหาผลประโยชน์ตอบแทน อย่างไรก็ตามการถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรจัดเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการถือเงินสดเพื่อใช้จ่ายตามปกติและการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน
การถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรเป็นลักษณะของการนำเงินสดส่วนเกินของบริษัทไปลงทุนหาผลประโยชน์ตอบแทน อย่างไรก็ตามการถือเงินสดเพื่อเก็งกำไรจัดเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการถือเงินสดเพื่อใช้จ่ายตามปกติและการถือเงินสดเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน
การตัดสินใจและวัตถุประสงค์ของการจัดการเงินสด
การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
จะต้องพิจารณาถึงผลได้และผลเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งการถือเงินสดของบริษัทไว้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดผลเสีย
คือ
- การจัดการเงินสดของบริษัทจะเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทให้น้อยลง ดังนั้นบริษัทควรที่จะต้องมีเงินสดให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตรงตามกำหนดระยะเวลาด้วย
- การถือเงินสดของบริษัทไว้มากหรือน้อยเกินไป ถ้าถือไว้มากจะทำให้กำไรน้อยลง และถ้าถือไว้น้อย ก็จะประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องได้
วัตถุประสงค์ของการถือเงินสด มี 2 ประเภท คือ
- การถือเงินสดอย่างเพียงพอจะต้องสอดคล้องกับความต้องการใช้เงินสดในการใช้จ่ายของบริษัท
- การถือเงินสดจะต้องถือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การกำหนดเงินสดขั้นต่ำ
ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ
ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ
บริษัท ชวนชม จำกัด เป็นบริษัทขายสินค้าซึ่งอายุสินค้าโดยเฉลี่ย 75 วัน มีระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ 45 วันและระยะเวลาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 60 วัน ถ้าบริษัทคาดคะเนว่าจะต้องใช้เงินสดสาหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานประมาณปีละ 1,200,000 บาท (1 ปี = 360 วัน ) ให้หาว่าเงินสดขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในการดำเนินงานเท่ากับเท่าไร
= 75 + 45 - 60
= 60 วัน
= 360 / 60
= 6 ครั้ง
เงินสดขั้นต่ำ = 1,200,000/ 6
= 200,000 บาท
ดังนั้น เงินสดขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ใช้ในการดำเนินงานเท่ากับ 200,000 บาท
= 360 / 6 = 60 วัน
= 360 / 5 = 72 วัน
= 360 / 6 = 60 วัน
= 360 / 72 = 5 รอบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเงินสด
- วงจรเงินสดของธุรกิจ = อายุสินค้า + ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ -ระยะเวลาชำระหนี้
- อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี/ วงจรเงินสดของธุรกิจ
- เงินสดขั้นต่ำ = เงินสดที่ต้องใช้ต่อปี/ อัตราการหมุนเวียนของเงินสด
ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ
- อายุสินค้าหรือระยะเวลาที่ผลิตสินค้าจนเป็นสินค้าสำเร็จรูป
- อายุลูกหนี้หรือระยะเวลาเรียกเก็บหนี้หรือระยะเวลาที่ให้เครดิต
- อายุเจ้าหนี้หรือระยะเวลาจ่ายชำระหนี้หรือระยะเวลาที่ได้เครดิต
ปัจจัยกำหนดเงินสดขั้นต่ำ
- อายุสินค้า= 360 / อัตราการหมุนเวียนของสินค้า
- อายุลูกหนี้หรือระยะเวลาเรียกเก็บหนี้หรือระยะเวลาที่ให้เครดิต = 360 / อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
- อายุเจ้าหนี้หรือระยะเวลาจ่ายชำระหนี้หรือระยะเวลาที่ได้เครดิต = 360 / อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้
ตัวอย่างการหาเงินสดขั้นต่ำ
บริษัท ชวนชม จำกัด เป็นบริษัทขายสินค้าซึ่งอายุสินค้าโดยเฉลี่ย 75 วัน มีระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ 45 วันและระยะเวลาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 60 วัน ถ้าบริษัทคาดคะเนว่าจะต้องใช้เงินสดสาหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานประมาณปีละ 1,200,000 บาท (1 ปี = 360 วัน ) ให้หาว่าเงินสดขั้นต่ำที่ต้องการใช้ในการดำเนินงานเท่ากับเท่าไร
วิธีคำนวณเงินสดขั้นต่ำ
- วงจรเงินสด = อายุสินค้า + ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ - ระยะเวลาชำระหนี้
= 75 + 45 - 60
= 60 วัน
- อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี / วงจรเงินสด
= 360 / 60
= 6 ครั้ง
- เงินสดขั้นต่ำ = เงินสดที่ต้องใช้ต่อปี / อัตราการหมุนเวียนของเงินสด
เงินสดขั้นต่ำ = 1,200,000/ 6
= 200,000 บาท
ดังนั้น เงินสดขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ใช้ในการดำเนินงานเท่ากับ 200,000 บาท
ตัวอย่างการหาเงินสดขั้นต่ำ
บริษัท ทำการขายสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งอัตราการหมุนเวียนของสินค้าเท่ากับ 6 ครั้ง อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้เท่ากับ 5 ครั้ง อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้เท่ากับ 6 ครั้ง บริษัทคาดว่าจะต้องใช้เงินสดสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปีละ 1,500,000 บาท (1 ปี = 360 วัน) คำนวณหาเงินสดขั้นต่ำที่ต้องมีไว้ใช้ในการดำเนินงาน
วิธีคำนวณเงินสดขั้นต่ำ
- อายุสินค้า = 360 / อัตราการหมุนเวียนของสินค้า
= 360 / 6 = 60 วัน
- อายุลูกหนี้ = 360 / อัตราการหมุนเวียนลูกหนี้
= 360 / 5 = 72 วัน
- อายุเจ้าหนี้ = 360 / อัตราการหมุนเวียนเจ้าหนี้
= 360 / 6 = 60 วัน
- วงจรเงินสด = 60 + 72 - 60 = 72 วัน
- อัตราการหมุนเวียนของเงินสด = จำนวนวันใน 1 ปี / วงจรเงินสด
= 360 / 72 = 5 รอบ
- เงินสดขั้นต่า = 1,500,000 / 5 = 300,000 บาท
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเงินสด
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การถือเงินสดเพื่อการดำเนินงานของบริษัทเข้าใกล้ศูนย์
ได้ คือ
- จะต้องมีการพยากรณ์กระแสเงินสดสุทธิที่มีความสมบูรณ์ตลอดระยะเวลาของการวางแผนของบริษัท
- เงินสดรับและจ่ายของบริษัทจะต้องมีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม
ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเงินสดที่สำคัญ
ได้แก่
- บริษัทจะต้องมีวิธีการเร่งการรับเงินสดให้เร็วที่สุดและชะลอการจ่ายเงินสดให้ช้าที่สุด
- เมื่อบริษัทมีเงินสดส่วนเกินเหลือ ควรนำเงินสดนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
วิธีการเร่งเงินสดรับและการชะลอเงินสดจ่าย
- การเร่งเงินสดรับ
- การพัฒนาวิธีการที่จะใช้ในการชะลอการจ่ายเงินสด
การจัดการกระแสเงินสดรับ
การเร่งเงินสดรับของบริษัทนั้นจะมีความสามารถในการลดการลอยตัว ซึ่งการลอยตัว หมายถึง ระยะเวลาของเช็คที่ได้สั่งจ่ายจนกระทั่งได้รับเงินสดจากเช็ค โดยการลอยตัวจะมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
เทคนิคสำหรับการลดการลอยตัว
การเร่งเงินสดรับของบริษัทนั้นจะมีความสามารถในการลดการลอยตัว ซึ่งการลอยตัว หมายถึง ระยะเวลาของเช็คที่ได้สั่งจ่ายจนกระทั่งได้รับเงินสดจากเช็ค โดยการลอยตัวจะมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
- การลอยตัวของการส่งเช็คทางไปรษณีย์ คือ ระยะเวลาที่ลูกค้าส่งเช็คไปให้กับผู้ขาย และผู้ขายดำเนินการนำเช็คไปเข้าบัญชี
- การลอยตัวของขั้นตอนการดำเนินการนำเช็คขึ้นเงิน คือ ระยะเวลาที่บริษัทนำเช็คของลูกค้าไปดำเนินการขึ้นเงินที่ธนาคาร
- การลอยตัวของการเปลี่ยนเช็คเป็นเงินสด คือ ระยะเวลาที่จำเป็นของการนำเช็คที่ได้รับจากลูกค้าไปเข้าบัญชี จนกระทั่งเช็คที่สั่งจ่ายนั้นได้ clearing ในระบบธนาคาร และบริษัทได้รับเงินสดจากเช็คนั้น
- การลอยตัวของการจ่ายเงิน คือ ระยะเวลาระหว่างเงินที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกค้า จนกระทั่งเช็คสั่งจ่ายนั้นได้ clearing ในระบบธนาคารเรียบร้อยแล้ว
การคำนวณผลประโยชน์จากการลอยตัว
บริษัท Miko จำกัด แสดงรายได้รวมเท่ากับ 350 ล้านบาท ถ้าบริษัทสามารถลดการลอยตัวได้ 1 วัน โดยอัตราผลตอบแทนของการนำเงินไปลงทุนเท่ากับ 8% มูลค่าของการลดการลอยตัวจะเป็นเท่าใด (กำหนด 365 วัน)
- รายได้รวม / จำนวนวันใน 1ปี = 350,000,000 / 365
= 958,904.11
- ถ้าลดการลอยตัว 1 วัน จะเท่ากับ 958,904.11 บาท
- อัตราผลตอบแทน 8% = 958,904.11*8%
= 76,712.33 บาท
เทคนิคสำหรับการลดการลอยตัว
1. การเช่าตู้ไปรษณีย์ (The lock Box Arrangement)
ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์เป็นวิธีที่บริษัทผู้ขายสินค้าเช่าตู้ไปรษณีย์และมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้ที่มาเปิดตู้และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย โดยการเช่าตู้ไปรษณีย์นี้จะทำให้บริษัทสามารถลดการลอยตัวของขั้นตอนในการนำเช็คไปขึ้นเงินได้ประมาณ 2 – 4 วัน
ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์เป็นวิธีที่บริษัทผู้ขายสินค้าเช่าตู้ไปรษณีย์และมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้ที่มาเปิดตู้และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย โดยการเช่าตู้ไปรษณีย์นี้จะทำให้บริษัทสามารถลดการลอยตัวของขั้นตอนในการนำเช็คไปขึ้นเงินได้ประมาณ 2 – 4 วัน
ซึ่งในกรณีที่บริษัทมีสถานที่ในการจัดเก็บเงินหลายแห่ง การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะของเครือข่ายตู้ไปรษณีย์ คือจะมีตู้ไปรษณีย์กระจายอยู่หลายแห่ง
ขั้นตอนของระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์
ข้อดี-ข้อเสียของการเช่าตู้ไปรษณีย์
ข้อดี :
- ทำให้ระยะเวลาการเปลี่ยนหนี้เป็นเงินสดลดลง ซึ่งทำให้บริษัทได้รับเงินสดเร็วขึ้น
- ทำให้สามารถลดภาระงานของพนักงานบริษัทลงได้ เนื่องจากธนาคารเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่รับเช็คจนนำเช็คไปขึ้นเงิน
- ทำให้ทราบถึงเช็คที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย :
- การเช่าตู้ไปรษณีย์ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
2. การจ่ายเงินด้วยเช็คที่อนุมัติล่วงหน้า (PAC)
การจ่ายเงินด้วยเช็คล่วงหน้านั้นจะมีประสิทธิภาพในการแปลงสภาพของเช็คให้เป็นเงินสดได้รวดเร็วกว่าเช็คทั่วไป
เนื่องจากการจ่ายเงินด้วยเช็คที่อนุมัติล่วงหน้านี้จะกระทำการโดยได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ให้บริษัทสามารถถอนเงินผ่านบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าได้ทันที โดยการจ่ายเงินวิธีนี้มีข้อได้เปรียบ คือ
- สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทได้ดีขึ้น
- สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการรับชำระเงินจากลูกหนี้ลงได้
- สามารถทำให้เงินสดที่ใช้ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสามารถลดการลอยตัวลงได้
3. ระบบธนาคารศูนย์กลาง
(Concentration Banking)
- บริษัทที่มีสำนักงานขายอยู่หลายแห่งทั่วประเทศมักมีสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินในภูมิภาคนั้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงชำระค่าสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น
- โดยเมื่อศูนย์ได้รับเช็คจากลูกค้าแล้ว ทางศูนย์ก็จะนำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารในท้องถิ่น ซึ่งเงินนั้นก็จะถูกโอนเข้าบัญชีผู้ขายที่ธนาคารศูนย์กลางอย่างรวดเร็ว
- ดังนั้นระบบธนาคารศูนย์กลางจึงสามารถลดระยะเวลาการจัดเก็บเงินได้ ซึ่งถือเป็นการลดการลอยตัวได้ดีวิธีหนึ่ง
ขั้นตอนของระบบธนาคารศูนย์กลาง
4. การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
(Wire Transfers)
วิธีนี้จะทำให้บริษัทได้รับเงินรวดเร็วขึ้นอีกวิธีหนึ่ง
เนื่องจากเงินที่โอนมาบริษัทสามารถนำไปใช้ได้ทันที
ซึ่งวิธีดังกล่าวจะสามารถลดการลอยตัวจากขั้นตอนของการเปลี่ยนเช็คเป็นเงินสดได้
ขั้นตอนการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
การจัดการกระแสเงินสดจ่าย
เทคนิคที่สำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเงินสดจ่าย
มีดังนี้
1) การเปิดบัญชียอดเงินฝากเป็นศูนย์
บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสำนักงานหลายแห่งมักมีบัญชีเงินฝากอยู่หลายธนาคาร
ดังนั้นระบบบัญชียอดเงินฝากเป็นศูนย์จะมีวิธีการ คือ
- เมื่อเช็คถูกเรียกเก็บเงินในแต่ละวันธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีหลักไปยังบัญชีของสำนักงานต่างๆในจำนวนเท่ากับเช็คเรียกเก็บของธนาคารแต่ละแห่ง
- ดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีแห่งต่างๆจะเท่ากับศูนย์เสมอ ยกเว้นบัญชีหลักของบริษัท
- ซึ่งการที่บัญชีมียอดเงินฝากเป็นศูนย์จะช่วยให้สามารถควบคุมการจ่ายเงินของบริษัทได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีด้วย
2) การจ่ายเงินด้วยตั๋วแลกเงิน
- ตั๋วแลกเงินนั้นบริษัทจะเป็นผู้ทำหน้าที่ออกเอง โดยตั๋วแลกเงินจะยังไม่มีการจ่ายเงินในทันที แต่จะรอจนกว่าธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บ
- โดยตั๋วแลกเงินนั้นจะมีลักษณะเหมือนเช็คตรงการเคลียร์ริงผ่านระบบธนาคาร
- วัตถุประสงค์ของการจ่ายเงินด้วยตั๋วแลกเงิน คือเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การชะลอจ่ายเงินด้วยวิธีอื่นๆ
- การจ่ายชำระหนี้ด้วยเช็คที่ต้องนำเข้าบัญชีเงินฝาก กล่าวคือ บริษัทควรพยายามหลีกเลี่ยงการจ่ายชำระหนี้ด้วยเงินสดและเช็คเงินสด เพื่อช่วยในการชะลอการจ่ายเงินสดออกไป
- การกำหนดให้มีการวางใบเรียกเก็บเงินล่วงหน้า
- การกำหนดวันและเวลาการจ่ายเช็คของบริษัท
การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
(EFT)
เนื่องจากในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ดังนั้นในส่วนของการจัดการเงินสด บริษัทอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบของการโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) รูปแบบของ EFT คือการโอนเงินจะเกิดขึ้นกับธนาคารทั้งรับและส่งเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
และการโอนผ่านทางบัญชีทางธนาคาร
การลงทุนชั่วคราวในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
เมื่อบริษัทได้กำหนดระบบที่ใช้ในการจัดเก็บเงินและชะลอการจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว ถ้าบริษัทยังมีเงินสดส่วนเกินเหลืออยู่ บริษัทควรจะต้องพิจารณานำเงินสดส่วนนี้ไปหาผลประโยชน์ตอบแทน โดยทางเลือกหนึ่งคือ
การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการเป็นการชั่วคราว
หลักเกณฑ์การเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ต้องการ
ได้แก่
1) ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial
Risk)
บริษัทควรพิจารณาว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาหรือไม่
โดยถ้าพิจารณาแล้วว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มีความเสี่ยงที่จะไม่ทำตามเงื่อนไขการชำระเงินสูง ความเสี่ยงทางการเงินก็จะสูงด้วย
2) ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate
Risk) คือ
ความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่ได้รับเนื่องจากการปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจ
- อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าของหลักทรัพย์จะลดลง
- ถ้าถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลง มูลค่าของหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น
3) สภาพคล่อง (Liquidity) คือ
ความคล่องตัวของหลักทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
ซึ่งการลงทุนในหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาว่าหลักทรัพย์นั้นสามารถนำไปขายได้ง่ายหรือไม่ถ้าบริษัทต้องการเงินสด
4)
ผลตอบแทน (Yields) คือ ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งถ้าความเสี่ยงในการลงทุนสูง
ผลตอบแทนก็จะสูงตาม / แต่ถ้าความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำ ผลตอบแทนก็จะต่ำตาม
ประเภทของหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
เป็นสัญญาเกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์ ซึ่งสัญญาว่าผู้ขอกู้จะซื้อหลักทรัพย์กลับคืนในราคาที่กำหนดบวกกับดอกเบี้ยที่ระบุไว้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
ประเภทของหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ
- ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)
- ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง (Bankers Acceptances)
- บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificates of Deposit หรือ NCD)
- ตราสารพาณิชย์ (Commercial paper)
- ตราสารพาณิชย์ที่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท
- ตราสารพาณิชย์ที่ไม่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
- หุ้นกู้ระยะสั้น คือ ตราสารหนี้ที่อายุไม่เกิน 270 วัน
- สัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreements)
เป็นสัญญาเกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์ ซึ่งสัญญาว่าผู้ขอกู้จะซื้อหลักทรัพย์กลับคืนในราคาที่กำหนดบวกกับดอกเบี้ยที่ระบุไว้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
- สัญญาซื้อคืนต้องได้มาตรฐานตามหน่วยงานที่กลต.ยอมรับ
- บริษัทหลักทรัพย์จะนำหุ้นที่ได้จากการทำ equity repo ไปขายไม่ได้
- กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Mutual Funds)
ฉันมาจากประเทศไทยและอาศัยอยู่ที่ตุรกี ฉันขอใช้เวลาเล็กๆ น้อยๆ นี้ก่อนออกไปทำงานเพื่อแนะนำบุคคลที่ใช่ที่คุณสามารถกู้เงินได้ ที่นี่หรือที่ใดในโลก (Miss Susan James Loan Firm) ฉันได้รับเงินกู้จากบริษัทนี้ หรือเว็บไซต์: https://susanjamesloanfirm6.wixsite.com/mysite
ตอบลบ